โรคซึมเศร้าเป็นผลของโรคที่ส่งต่อความผิดปกติทางอารมณ์และความรู้สึก มักพบได้มากในเพศหญิง ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความรู้สึกเศร้า หมดความหวัง และไม่สามารถหาทางออกได้ เป็นสภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก มีการแบ่งโรคซึมเศร้าได้หลายแบบ เช่นโรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตร โรคซึมเศร้าก่อนมีรอบเดือน โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล โรคซึมเศร้าโรคจิต
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
เกิดจากสมองที่ทำงานผิดปกติโดยเส้นประสาทอาจไม่สมดุลกัน หรือมีปัญหาในการทำงานประกอบกับปัจจัยอื่นๆ ทางด้านความรู้สึก และอารมณ์เหตุการณ์เลวร้ายที่ต้องเผชิญ ในบางครั้งการที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจเป็นเวลานาน และบ่อยครั้ง จนทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า และสิ้นหวังก็สามารถทำให้เป็นโรคร้ายนี้ได้เช่นกันโรคบางโรคอาจมีผลข้างเคียงที่นำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า เช่น โรคหัวใจ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเศร้าจนทำให้ฟื้นตัวจากโรคได้ช้า อาการดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุนำพาไปสู่โรคซึมเศร้าได้เช่นกันลักษณะทางความคิด ความคิด และมุมมองต่อสิ่งต่างๆ ถือเป็นส่วนสำคัญของโรคซึมเศร้า หากมีทัศนคติในแง่ลบ อ่อนไหวต่อสิ่งรอบตัวได้ง่ายอาจส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้การใช้ยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น สเตียรอยด์ ยาเบนโซไดอะซีปีน เป็นต้น ดังนั้นควรศึกษาหรือขอคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับตัวยา และผลข้างเคียงที่อาจได้รับสามารถเกิดจากพันธุกรรมหากมีคนในครอบครัวเคยมีปัญหาหรือเป็นโรคทางด้านอารมณ์จะส่งผลให้มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น
อาการของโรคซึมเศร้า
มีอาการ มองโลกในแง่ร้าย มีความสิ้นหวัง ซึมเศร้า หดหู่ คิดฆ่าตัวตาย รู้สึกไม่ค่อยมีแรงมีความเชื่องช้าทั้งการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการสนทนา ชอบแยกตัว ไม่ต้องการเข้าร่วมสังคม ขาดความสามารถในการตัดสินใจ
การรักษาโรคซึมเศร้า
การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา ในอาการระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรงจะเป็นการให้ยาต้านซึมเศร้า เช่น กลุ่มยา SSRIs และกลุ่มยา SNRIs แต่การกินยามากเกินไปอาจจะมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการวิตกกังวล กระวนกระวายใจ นอนไม่หลับ เมื่อยล้า และอาจส่งผลเสียไปถึงการเกิดภาพหลอนได้ จึงต้องมีการรักษาอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย
การกระตุ้นเซลล์สมองและประสาท เป็นวิธีการที่ใช้กับผู้ป่วยอาการรุนแรงที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย โดยจะมีการใช้กระแสไฟฟ้าปล่อยผ่านสมองของผู้ป่วยขณะที่ดมยาสลบอยู่ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจมีผลข้างเคียง ผู้ป่วยอาจะมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ ความจำเสื่อม และอาจะเกิดอาการชักเป็นช่วง ๆ ในระหว่างการรักษา
การบำบัดพฤติกรรมและความคิด จะเป็นวิธีการรักษาที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน โดยส่วนมากการบำบัดพฤติกรรมและความคิดจะรักษาควบคู่กันไปกับการกินยา วิธีการรักษาจะเป็นการ พูดคุยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเปลี่ยนพฤติกรรมและมุมมองในการใช้ชีวิตให้เป็นในทางที่ดีขึ้น
การป้องกันโรคซึมเศร้า
ภาวะโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากสาเหตุที่หลากหลายจึงไม่สามารถควบคุมได้ แต่การทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การออกไปเที่ยวนอกบ้าน และการรักษาสภาวะอารมณ์ของตัวเองให้เป็นปกติและมีชีวิตชีวา ไม่เก็บกดอารมณ์ความรู้สึกไว้กับตัวเองมากจนเกินไป การมองโลกในแง่ดีก็จะทำให้เราห่างไกลจากโรคซึมเศร้าได้
เห็นได้ว่าภาวะซึมเศร้ามีความอันตรายเป็นอย่างมากส่งผลต่อสุขภาพเราควรหมั่นดูแลรักษาร่างกายจิตใจให้พร้อมรับมือกับปัญหาอยู่เสมอ เพื่อป้องกันอาการโรคซึมเศร้าได้ดี